เกร็ดความรู้
20 พฤศจิกายน 2560
เกษตรกรรุ่นใหม่เข้าใจการแกล้งดิน
ปัญหาเรื่อง “ดิน” เป็นปัญหาที่หนักอกของเกษตรกร
ดินดีปลูกอะไรก็ง่าย ผลผลิตดี แต่ดินที่เปรี้ยวไปนี่สิจะทำยังไง?
ยิ่งเกษตรกรรุ่นใหม่ที่อยากทำการเกษตรแบบ 4.0 ควรต้องมีความรู้เรื่องนี้เอาไว้นะครับ ไฟ้โตะมีเรื่องราวการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวตามแนวทางพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเล่าให้ฟังครับ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเรื่องปัญหาดินเปรี้ยวกันก่อน
ดินเปรี้ยว คือ อะไร? ดินที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นกรดจัดของดิน โดยมีค่า pH ของดินต่ำกว่า 5.5 ดินเปรี้ยวมักเกิดจากการทับถมของตะกอนนํ้ากร่อย ซึ่ง เป็นบริเวณที่เคยได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลท่วมถึงมาก่อน เช่น บริเวณที่เคยเป็นป่าชายเลน และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าใหญ่ๆ ดินเปรี้ยวทำให้รากพืชไม่เจริญเติบโต และจำกัดการพัฒนาการของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน
โดยเมื่อ พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิธ (รัชกาลที่ 9) ได้ทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส และทรงพบว่า ราษฎรมีความเดือดร้อน เพราะพื้นที่ เป็นที่พรุมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ถึงแม้สามารถทําให้น้ำแห้งได้ ดินในพื้นที่เหล่านั้นก็ยังเป็นดินเปรี้ยวจัดทําการเกษตรไม่ได้ผล พระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงมีพระราชดำริให้มีโครงการแกล้งดินขึ้น
วิธีการแกล้งดิน คือ การทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อให้ดินปล่อยแร่ธาตุที่เป็นกรดออกมา หลังจากนั้นจึงใช้น้ำชะล้างดินควบคู่ไปกับปูน ใช้ปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ปูนมาร์ล (marl) สำหรับภาคกลางหรือปูนฝุ่น (lime dust) สำหรับภาคใต้ หลังจากนั้นจึงใช้น้ำจืดชะล้างกรดในดินไปเรื่อยๆ ความเป็น กรดจะค่อยๆ จางลงจนสามารถใช้เพาะปลูกทำการเกษตรได้
ตัวอย่างความสำเร็จ ในเรื่องการแก้ปัญหาดินพรุ ดินเปรี้ยวก็คือ "โครงการศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าว มาปรับใช้แก้ปัญหาดินปรี้ยวในที่ดินของท่านได้ครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104722
ข่าวแนะนำ
© 2018 สงวนสิทธิ์โดย บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด